วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

 
แฟ้มรูป

 

ประวัติโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา

พิษณุโลกศึกษาสู่เตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ

ความเป็นมา


โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 289 หมู่ 5 ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดแห่งที่ 3 ของจังหวัดพิษณุโลก
ซึ่งได้ทำการเปิดเรียนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2517 สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2511 ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา ( ต่อมาเป็นกรมสามัญศึกษา ) ในขณะนั้น
ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยม โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม โดยมีนายมานะ เอี่ยมสกุล เป็นอาจารย์ใหญ่และและได้ปรารถกับ นายมานะ เอี่ยมสกุล ว่าต้องการจะได้ที่ดิน ประมาณ 200 ไร่ เพื่อก่อตั้งวิทยาลัยชั้นสูง ( Junior College ) หรือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้นในจังหวัดพิษณุโลกอีก 1 แห่ง ต่อมานายละเมียน อัมพวะสิริ นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมในสมัยนั้น ได้ทราบจากนายประเสริฐ สิทธิชัย ผู้จัดการโรงงานพิษณุโลกองค์การทอผ้าว่ามีพื้นที่ว่างเปล่าเป็นพื้นที่ราชพัสดุ ซึ่งกระทรวงกลาโหมครอบคลุมดูแลอยู่ประมาณ 200 ไร่เศษ ตั้งอยู่ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นายมานะ เอี่ยมสกุล ได้แจ้งให้อธิบดีกรมสามัญศึกษาทราบ
ต่อมากรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ติดต่อขอใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อเป็นสถานที่ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาอีก 1 แห่ง อธิบดีกรมสามัญศึกษาได้แจ้งให้อาจารย์ใหญ่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ทราบว่า กรมสามัญศึกษาอนุมัติให้เปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลกบนพื้นที่ดังกล่าวอีก 1 แห่ง และได้เปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2517 โดยนายประสิทธิ์ มากลิ่น ดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารคนแรกและได้เปิดรับนักเรียน ครั้งแรกระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ห้อง 186 คน ครูอาจารย์จำนวน 7 คน โดยได้ฝากที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมก่อน
ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน 2518 นายประสิทธิ์มากลิ่น อาจารย์ใหญ่คนแรกได้ทำการย้ายสถานที่เรียนจากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม มาทำการเรียน ณ ที่อยู่ปัจจุบัน ต่อจากนั้นโรงเรียนพิษณุโลกศึกษาได้ขยายตัวเพื่อรองรับนักเรียน ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างรวดเร็ว จนถึงปัจจุบันนี้โรงเรียนพิษณุโลกศึกษาเปิดสอนนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมจำนวนนักเรียน 1,983 คน มีเนื้อที่ 72 ไร่เศษ คณะครู-อาจารย์ 127 คน นักการและลูกจ้าง 17 คน

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ
1.เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในแก่นักเรียนที่จบ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้เข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้มากยิ่งขึ้น เป็นการยกระดับการศึกษาของประชาชนให้สูงขึ้น
2.เพื่อให้โรงเรียนต้นแบบที่เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีคุณภาพสามารถ รับนักเรียนที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนของรัฐและเอกชน เข้าเรียนต่อได้กว้างขวางและเพียงพอกับความต้องการของประชาชนที่เพิ่มขึ้น
3.เพื่อแบ่งเบาภาระโรงเรียนมัธยมศึกษาที่จัดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีอยู่ซึ่งต้องรับนักเรียนจำนวนมาก และมีข้อจำกัดทางด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
4.เพื่อเตรียมการให้เป็นสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปอีกในอนาคต ซึ่งดำเนินการได้เต็มโครงการแล้ว ภาคเหนือจะมีโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นแม่แบบต่อการพัฒนาพื้นที่อื่นได้
5.เพื่อจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของประเทศ ซึ่งจังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางของสถาบันระดับอุดมศึกษาหลายแห่งและเป็นศูนย์กลางของอินโดจีน การคมนาคมสะดวก สามารถติดต่อแต่ละจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งทางบกและทางอากาศ
ประมาณ 60 ปีที่ผ่านมา นักการศึกษาดีเด่นของโลก ศาสตร์จารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ได้มองเห็นความสำคัญของการให้การศึกษาแก่เยาวชน จึงได้ตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร และสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้งประเทศ และเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการการทรวงศึกษาธิการมีนโยบายที่จะกระจายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนทุกภาคของประเทศไทยให้มีโอกาสในการศึกษาเล่าเรียนเท่าเทียมกับส่วนกลาง และได้ดำริที่จะตั้งวิทยาลัยชั้นสูง ( Junior College ) หรือเตรียมอุดมศึกษาที่พิษณุโลกศึกษา
ฯพณฯปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาของทุกโรงเรียนในประเทศให้เท่าเทียมกัน ให้มีโรงเรียนเครือข่าย ช่วยเหลือกันในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตราฐานเดียวกันหรือใกล้เคียงกันให้มากที่สุด ผู้บริหารโรงเรียนพิษณุโลกศึกษาจึงได้ประสานกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ กรมสามัญศึกษา และผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษากรุงเทพฯ เพื่อจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้สถานที่ของโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมทุกๆด้าน ทั้งด้านกายภาพที่ดี อาคารสถานที่พอเพียง บุคลากรที่มีคุณภาพและศักยภาพสูง ซึ่งมีรายละเอียดด้านต่างๆ ดังนี้

ข้อตกลงร่วมกันของเรียนเตรียมอุดมศึกษา กับโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา ในการเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ


กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการจัดศึกษาให้ทั่วทุกโรงเรียนทั่วประเทศไทยมีคุณภาพทัดเทียมกัน แม้อยู่ส่วนใดของประเทศไทยก้าตาม กรมสามัญศึกษาได้มีนโยบายที่จะขยายโอกาสทางศึกษา ต้องการที่จะมีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาอยู่ทุกภาคของประเทศไทย ทำให้เกิดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.สกลนครโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช และมีดำริที่จะตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่ จ.พิษณุโลก ในปี พ. ศ. 2542 ผู้อำนวยการโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา นายจุฬา ทารักษา ได้ประสานงานกับผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา นายอัศวิน วรรณวิเวศร์ในการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา ตามหนังสือที่ ศธ 0849.103/915 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2542 และผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ตอบรับเป็นเบื้องต้นโดยรับโรงเรียนพิษณุโลกศึกษาเข้าเป็นเครือข่ายของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ตามหนังสือที่ ศธ 0806.025/887 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2542 และได้ดำเนินการร่วมกันผ่านกรมสามัญศึกษา เพื่อขอจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ แต่ก็ได้ระงับไปช่วงหนึ่งเพราะผู้อำนวยการพิษณุโลกศึกษา นายจุฬา ทารักษา เกษียณอายุราชการ และผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา นายอัศวิน วรรณวินเวศร์ เกษียณอายุราชการต่อมา ต่อมาผู้อำนวยการโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา นายมณู วัฒนไพบูลย์ ได้รับทราบการขอจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา และได้รับนโยบายของกรมสามัญศึกษาในการประสานงานจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นจังหวัดที่เป็นที่เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือมีสถาบันอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นสถาบันให้การสนับสนุนช่วยเหลือในโครงการด้านวิชาการแก่โรงเรียนต่างๆ ตลอดมา ผู้อำนวยการโรงเรียนพิษณุโลกศึกษาได้ประสานงานกับผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ ปัจจุบัน คือ นางพรรณี เพ็งเนตร เพื่อเข้าเป็นเครือข่ายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ตามหนังสือที่ ศธ 0849.103/183 ลงวันที่ 20 กุมพาพันธ์ 2546 เรื่องขอเป็นเครือข่ายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาได้ตอบรับไม่ขัดข้องในการขอเป็นเครือข่าย

การปรับแผนชั้นเรียนในการรับนักเรียน


โรงเรียนพิษณุโลกศึกษาได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาให้เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปีการศึกษา 2545 เป็น 10-9-9 และ 8-8-8และในปีการศึกษา 2546 โรงเรียนพิษณุโลกศึกษาได้ขอรับปรับแผนชั้นเรียนใหม่ โดยขอลดชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็น 10-10-9 และ 8-8-8 โรงเรียนได้ขอปรับแผนชั้นเรียนใหม่ โดยขอลดชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 จาก 10 ห้องเรียน เหลือ 6 ห้องเรียน เพื่อจะได้เพิ่มศักยภาพในการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมากขึ้นในฐานะโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ซึ่งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จะได้จัดการเรียนการสอนเฉพาะระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น
โรงเรียนได้กำหนดเป้าหมายในการรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อรองรับการเรียนการสอนในฐานะโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ ดังนี้

ปีการศึกษา

แผนการจัดชั้นเรียน

รวม

จำนวนนักเรียนประมาณห้อง (40 คน/ห้อง)

ม.ต้น

ม.ปลาย

2546

6 - 10 - 9

8-8-8

49

1,882

2547

0 - 6 - 10

16-8-8

48

1,908

2548

0 - 0 - 6

20-16-8

50

2,000

2549

0 - 0 - 0

20-20-16

56

2,240

2550

0 - 0 - 0

20-20-20

60

2,400

การรับนักเรียนในเขตภาคเหนือ (เขตการศึกษา 7 และ 8)
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก ได้กำหนดแผนการรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระยะ 5 ปี ดังนี้

ปีการศึกษา

แผนชั้นเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

รวมชั้นเรียน

รวมจำนวนนักเรียน

จำแนกตามสาระหลักสูตร/มัธยมศึกษาปีที่ 4

วิทย์
คณิต

คณิต
ภาษา

ภาษา
2 ภาษา

สามัญ
ทั่วไป

รวม

2546

8-8-8

24

902

4

1

1

2

8

2547

16-8-8

32

1,261

10

2

2

2

16

2548

20-16-8

44

1,760

12

4

2

2

20

2549

20-20-16

56

2,240

12

4

2

2

20

2550

20-20-20

60

2,400

12

4

2

2

20

การรับนักเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จะต้องกระจายโอกาสการเข้าเรียนให้แก่ทุกโรงเรียนในเขตการศึกษา 7 และเขตการศึกษา 8 ได้เข้าเรียนอย่างเท่าเทียมกัน โดยพิจารณากำหนดจำนวนให้แต่ละโรงเรียนหรือแต่ละจังหวัดตามจำนวนนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของแต่ละปีการศึกษา และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สอบคัดเลือกทั่วไปอีกจำนวนหนึ่ง ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการพื้นฐานการศึกษาของโรงเรียนกำหนด หรือตามนโยบายของกรมสามัญศึกษา หรือกระทรวงศึกษาธิการที่กำหนดให้ในการรับนักเรียนแต่ละปีต่อไป


สิทธิของนักเรียนใน 16 จังหวัดภาคเหนือ


หากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการอย่างถูกต้องแล้ว และจะเปิดโอกาสให้นักเรียนที่จบหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นหรือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากทุกโรงเรียนใน 16 จังหวัดภาคเหนือ หรือในเขตการศึกษา เขต 7 และ 8 ได้เข้าศึกษาต่อตามโควต้าของแต่ละโรงเรียนตามเกณฑ์ที่จะได้กำหนดขึ้นตามความเห็นชอบของคณะกรรมการพื้นฐานการศึกษาของโรงเรียน เช่น ในปีการศึกษา 2546 เปิดโอกาสให้นักเรียนในเขตจังหวัดพิษณุโลกเข้าเรียน 80% นักเรียนจากต่างจังหวัด 20% ในปีการศึกษา 2547 เปิดโอกาสให้นักเรียนในเขตจังหวัดพิษณุโลก 30% นักเรียนจากทุกจังหวัดในเขตภาคเหนือ 40% โดยกำหนดเป็นโควต้าให้แต่ละจังหวัดหรือแต่ละโรงเรียนตามจำนวนนักเรียนและเปิดสอบคัดเลือกทั่วไป 30% ซึ่งคณะกรรมการพื้นฐานการศึกษาของโรงเรียนจะได้กำหนดต่อไป
โรงเรียนจะให้โอกาสแก่นักเรียนที่เรียนดีตามเกณฑ์ที่จะได้กำหนดตามค่า GPA & PR ของนักเรียน หรือพิจารณาจากความสามารถพิเศษ ด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ หรือความสามารถด้านคุณธรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมความเป็นเลศด้านอื่นๆ ด้วย เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสเพิ่มศักยภาพของนักเรียนเฉพาะด้านได้อย่างกว้างขวางและหลากหลาย ให้มีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีงาม อย่างมีความสุขทุกๆ คน
5. สถานที่พักของนักเรียนจากต่างจังหวัด
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ได้รับนักเรียนจากต่างจังหวัดเข้าเรียน ซึ่งนักเรียนจะต้องพักอาศัยในสถานที่พัก หรือหอพักใกล้โรงเรียน หรือหอพักของโรงเรียน เพื่อความสะดวกในการเดินทางไปเรียนและมีสถานที่ปลอดภัยในการพักอาศัยนักเรียนและผู้ปกครองจะประหยัด ปลอดภัย เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง ไม่ต้องเข้าไปเรียนที่กรุงเทพฯ จังหวัดพิษณุโลกเป็นชุมชนใหญ่ มีสถาบันการศึกษาระดับสูงหลายแห่ง มีโรงงานอุตสาหกรรมนอกเมือง ทำให้มีการสร้างหอพักให้เช่าอาศัยเป็นจำนวนมาก และอยู่ในความดูแลของหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด
ในปีการศึกษา 2546 โรงเรียนได้ประสานงานหน่วยราชการที่มีหอพัก และเจ้าของพักเอกชนจำนวนหนึ่งเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนที่มาจากต่างจังหวัดได้เข้าพักอย่างปลอดภัย ปละในปีการศึกษา 2547 เป็นต้นไป


This page is powered by Blogger. Isn't yours?

สมัครสมาชิก บทความ [Atom]